เปิดภาพสุดอลังการ!! 9 สาวบุญหนัก ที่ได้สวมชุด "มหาลดาปสาธน์" ในพิธีทอดกฐินวัดพระธรรมกาย
เป็นที่ทราบกันดีว่า วัดพระธรรมกายนั้น มักจะมีพิธีกรรมต่างๆทางศาสนามากมาย ซึ่งแต่ละพิธี มีความยิ่งใหญ่อลังการมาก โดยเฉพาะพิธีทอดกฐินของวัด ที่จะมีความยิ่งใหญ่มาก ศิษยานุศิษย์ของวัดจะต้องแต่งกายชุดสีขาวเข้าร่วมพิธี แต่จะมีสตรีที่สวมใส่ "ชุดมหาลดาปสาธน์" ที่จะคัดเลือกสาวที่มีคุณสมบัติพร้อมมาสวมใส่และเชิญผ้าไตรจีวร
สำหรับความหมายของชุด ก็มีที่มาที่ไป ดังนี้
ผู้ที่ทำบุญถวายผ้าไตรจีวร เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เมื่ออานิสงส์ส่งเต็มที่
ฝ่ายชายย่อมได้บวชกับพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา มีบาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์บังเกิดขึ้น
ฝ่ายหญิงย่อมได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ดังตัวอย่างนางวิสาขามหาอุบาสิกาในครั้งพุทธกาล
เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องประดับรูปนกยูง ที่มีนกยูงสถิตอยู่บนศีรษะ เหมือนยืนรำแพนและมีขนปีกทิ้งลงมาคลุมไปจนถึงหลังเท้า ประกอบด้วยเพชร 4 ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน แก้วประพาฬ 20 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน ใช้เงินแทนด้าย ลูกดุมทำด้วยทอง มีมูลค่าถึง 90 ล้านกหาปณะ คิดเป็นมูลค่าเงินปัจจุบันหลายพันล้านบาท
ผู้ที่จะใช้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ซึ่งมีน้ำหนักมากนี้ได้ นอกจากมีทรัพย์มากแล้ว ยังต้องมีบุญด้วย เหมือนนางวิสาขาที่มีกำลังเท่ากับช้าง 5 เชือก
นางวิสาขามหาอุบาสิกา
คราวหนึ่ง นางวิสาขาจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจึงได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ฝากให้หญิงรับใช้ดูแล เมื่อกลับจากวัดหญิงรับใช้ลืมเครื่องประดับไว้ที่วัด จึงย้อนกลับไปเอา โดยนางวิสาขาได้สั่งว่า หากยังไม่มีพระภิกษุรูปใดแตะต้องถูกก็ให้นำกลับมา แต่หากมีพระภิกษุถูกต้องเครื่องประดับนี้แล้วก็ขอถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ต่อมานางวิสาขาได้ทราบว่า พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้ช่วยนำเครื่องประดับนี้ไปเก็บไว้ให้ นางวิสาขาจึงได้ตัดสินใจถวายเครื่องประดับนี้แก่สงฆ์ แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระของสงฆ์ในการดูแล นางวิสาขาจึงขอไถ่คืนด้วยทรัพย์ 90 ล้านกหาปณะ และนำทรัพย์นี้ไปสร้างวัดบุพพารามถวายสงฆ์
น่าอัศจรรย์ในความเคารพบูชาพระรัตนตรัยของนางวิสาขายิ่งนัก
นางวิสาขานี้ก็คือมหาอุบาสิกาผู้เป็นเลิศในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาฝ่ายหญิง เป็นผู้กราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาตเพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสแล้ว ทำให้เกิดเป็นประเพณีทอดกฐินหลังออกพรรษาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
วัดพระธรรมกายได้สร้างเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์จำลอง เพื่อสาธิตให้ประชาชนได้เห็นอานิสงส์การถวายผ้าไตรจีวรในวันทอดกฐิน เป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม
ทางวัดพระธรรมกายจะกำหนดให้ญาติโยมที่มาวัดใส่ชุดสีขาวเหมือนๆกัน เพื่อความเรียบง่ายไม่ประดับประดาหรือแต่งมาอวดกัน เสมอภาคเหมือนกันทุกฐานะชนชั้นซึ่งทำมาตั้งแต่สร้างวัด ส่วนเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ไม่ใช่ชุดที่จะใส่มาวัด แต่สาธิตให้ญาติโยมได้เห็นเพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดีและเมื่ออ่านเจอเรื่องราวของเครื่องประดับนี้ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทจะได้นึกภาพออกโดยง่าย
หากองค์กรหรือผู้ที่มีความรู้ทางศิลปะและพระพุทธศาสนาได้ช่วยกันจำลองเรื่องราวในพระไตรปิฎก ออกมาให้เห็นเป็นภาพในรูปแบบต่างๆก็จะช่วยส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาได้มากขึ้น / เพจ พุทธสามัคคี
ภาพผู้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ในพิธีทอดกฐิน ณ วัดพระธรรมกาย
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2548 - 2549
กัลฯ ชนันภรณ์ รสจันทร์
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ.2550
กัลฯ ศศินา วิมุตตานนท์
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2551
กัลฯ วราลักษณ์ วาณิชย์กุล
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2552
กัลฯ พิมพวรรณ บรรจงศิริ
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2553
กัลฯ ปูชิตา สุขีวัฒนา
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2554
กัลฯ นาตาลี เจอร์ดี้
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2555
กัลฯ พญ.กีรติกานต์ ลำดับวงศ์
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2556
กัลฯ กัลยา ปัญญาสกุลวงศ์
ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2557
กัลฯ ลลิตภัทร เจนจบ
เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้ประชาชนหลายคนอึ้งและสงสัย แต่ตอนนี้ก็ได้ทราบกันแล้วค่ะว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก dmc.tv