“จับคนตายมาถ่ายภาพ” ประเพณีในอดีตที่น่าขนลุก!!
ต้องบอกว่าถือเป็นประเพณีที่น่าที่แปลกประหลาด และน่าสนใจมากชวนขนลุกไม่น้อยทีเดียว สำหรับประเพณีถ่ายภาพคนตาย หรือที่เรียกว่า Post-Mortem photography ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าสิ่งนี้คืออะไร วันนี้ ขอนำเรื่องราวแปลกและจริงเกี่ยวกับสิ่งนี้มาฝากกันค่ะ รวมไปถึงภาพถ่ายที่คุณเห็นแล้วต้องชวนขนลุก! 18+ (ถ้าใจไม่แข็งพอ ห้ามเข้า) สยอง! ประเพณีถ่ายภาพคนตายในสมัยก่อน กับภาพถ่ายที่น่าขนลุก!
การถ่ายภาพคนตายเป็นที่นิยมอย่างมากในฝั่งยุโรป และอเมริกา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 โดยพวกเขาจะทำการถ่ายภาพบุคคลอันเป็นที่รักที่เพิ่งตายจากไป เพื่อเก็บไว้เป็นตัวแทนของความทรงจำ หรือ Memento Mori (ภาษาละติน) เป็นการถ่ายภาพบุคคลที่เสียชีวิตแล้วไว้เป็นที่ระลึก กิจการถ่ายภาพนี้ได้รับความนิยมหลังจากมีการคิดค้นวิธีถ่ายภาพแบบ ดูแกรีโอไทพ์ (Daguerreotype) ในปี 1839 เนื่องจากบางคนไม่สามารถนั่งเป็นแบบในการเขียนภาพเหมือนบุคคลได้ (Painted Portrait)
และการถ่ายภาพดังกล่าวยังมีราคาถูกกว่าและรวดเร็วกว่า จึงเป็นที่นิยมสำหรับชนชั้นกลางที่ต้องการถ่ายภาพบุคคลอันเป็นที่รักที่เสียชีวิตไปแล้วเก็บไว้เป็นที่ระลึก ในช่วงยุควิกตอเรียน (Victorian Era) อัตราการตายของเด็กและทารกนั้นสูงมาก ภาพถ่ายส่วนใหญ่จึงเป็นภาพถ่ายของเด็กทารกหรือเด็กเล็กๆ และเมื่อมีการคิดค้นภาพแบบ Carte de Visite (ภาพเล็กๆ ที่อยู่บนการ์ด) ทำให้สามารถทำสำเนาภาพแจกจ่ายให้กับบรรดาญาติทั้งหลายได้อีกด้วย ส่วนถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่ ก็มีการจัดลักษณะท่าทางและถ่ายรูปร่วมกับสิ่งที่ผูกพันสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่เช่นเดียวกัน
การถ่ายภาพ Post-Mortem Photgraphy มีทั้งแบบที่ถ่ายใกล้ๆ (Close up) ใบหน้าและแบบถ่ายเต็มตัว ส่วนมากจะไม่นำเอาโลงศพเข้ามาประกอบ ศพที่นำมาถ่ายจะมีลักษณะเหมือนกำลังหลับลึกหรือมีการจัดท่าทางให้ดูเหมือนมีชีวิต บางครั้งก็ใช้วัสดุมาช่วยค้ำเปลือกตาเพื่อให้ดูเหมือนกำลังลืมตา หรืออาจจะใช้วิธีเขียนตาลงไปบนภาพเพื่อให้ดูมีชีวิตมากยิ่งขึ้น สำหรับภาพถ่ายช่วงแรกๆ (โดยเฉพาะแบบ แอมโบรไทพ์ (Ambrotypes) และแบบทินไทพ์ (Tintype)
จะมีการนำเอาสีชมพูอ่อนๆ มาแต้มที่แก้มศพด้วย ในกรณีที่เป็นการถ่ายภาพเด็กมักจะจัดท่าให้เหมือนนอนอยู่บนที่นอน หรือถ่ายภาพคู่กับของเล่นชิ้นโปรด รวมทั้งมีการถ่ายคู่กับสมาชิกในครอบครัว (ส่วนใหญ่จะถ่ายคู่กับผู้เป็นมารดา) ศพผู้ใหญ่จะถูกจัดท่าให้นั่งอยู่บนเก้าอี้โดยใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆ มาช่วยค้ำ หรือไม่ก็ผูกติดกับวัสดุที่เอามาค้ำ
ซึ่งในยุคนั้นการถ่ายภาพคนตายถือว่าเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้มักจะนำเอาดอกไม้มาประดับตกแต่งด้วย ทั้งนี้ผู้ตายมักจะถูกจัดให้อยู่ในท่าทางเหมือนกำลังมีชีวิต หรือว่าเป็นลักษณะที่กำลังหลับ และสิ่งที่เป็นปัญหาบ่อยครั้งคือ ถ้าศพเปิดตาไม่ได้และกลายสภาพความเสื่อมเร็ว เช่นในการตายของคนที่ป่วยเป็นโรค ช่างภาพจะทำการแต่งฟีล์มวาดตาลงไปที่ฟีล์มด้วย ให้ตาเปิด ในปัจจุบันการถ่ายภาพแบบนี้ยังคงเป็นกิจการที่ได้รับความนิยมในบางพื้นที่ เช่น แถบยุโรปตะวันออก รวมถึงชาวคริสเตียนนิกายออโธดอกทางแถบตะวันออก