โอโห !! สรรพคุณและประโยชน์ของพริกหวาน 10 ข้อ ใครชอบกินโชคดีมาก !??
พริกหวาน
พริกหวาน ชื่อสามัญ Bell pepper, Sweet pepper, Pepper, Capsicum[1]
พริกหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1]
พริกหวาน ยังมีชื่อเรียกอื่นว่า พริกยักษ์, พริกระฆัง, พริกตุ้มใหญ่[1]
ลักษณะของพริกหวาน
- ต้นพริกหวาน จัดเป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว การเติบโตในระยะแรกจะเจริญเป็นลำต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรกตรงยอดแล้ว จากนั้นจะแตกกิ่งแขนงในแนวตั้งเป็นสองกิ่ง ทำให้จำนวนกิ่งเพิ่มขึ้น ตลอดฤดูการเจริญเติบโตผลผลิตที่ได้จะขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่งและจำนวนผลต่อต้น ในช่วงระแรกที่กิ่งเจริญเป็นกิ่งอ่อน ต่อจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นกิ่งแก่ที่มีความแข็งและเปราะหักได้ง่าย โดยมีความสูงของต้นอยู่ประมาณ 0.5-1.5 เมตร มีรากเจริญในแนวดิ่งลึกประมาณ 90-120 เซนติเมตร รากแขนงแผ่กว้างออกด้านข้างประมาณ 90 เซนติเมตร ส่วนรากใหญ่จะอยู่กันอย่างหนาแน่นในระดับความลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตร สำหรับการปลูกพริกหวานนั้น จะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดินในสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียว[1]
- ใบพริกหวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน ขนาดจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก เมื่อใบเจริญ 9-11 ใบ ดอกแรกก็จะเจริญ[1]
- ดอกพริกหวาน ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ประกอบไปด้วยกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนใหญ่แล้วดอกพริกหวานจะเป็นสีขาว แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่เป็นสีม่วง ดอกมีเกสรเพศผู้แยกกัน มีจำนวน 5 อัน อับละอองเกสรเป็นสีม่วง ยอดเกสรเพศเมียบางพันธ์จะอยู่สูงกว่าอับละอองเกสร ดอกพริกหวานสามารถเจริญได้ทั้งในสภาพช่วงแสงสั้นและช่วงแสงยาว โดยปกติแล้วดอกจะเจริญหลังย้ายปลูกประมาณ 1-2 ดอก ส่วนการผสมเกสร พริกหวานเป็นพืชที่ผสมตัวเอง แต่ก็มีการผสมข้ามพันธุ์โดยธรรมชาติสูง จึงทำให้มีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาจำนวนมาก[1]
- ผลพริกหวาน ผลมีลักษณะกลมยาว มีขนาดใหญ่ ในผลจะประกอบไปด้วยสารให้ความเผ็ดหรือ Capsaicin ในปริมาณที่ต่ำมาก ส่วนผลนั้นโดยทั่วไปจะเป็นสีเขียว ถ้าปล่อยให้แก่บนต้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่บางสายพันธุ์ที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ อาจจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือ สีส้ม หรือสีม่วงก็ได้ โดยพริกสีเขียวจะประกอบไปด้วยสารคลอโรฟิลล์ พริกสีแดงหรือเหลืองจะเกิดจากเมล็ดสีแคโรทีนอยด์ ส่วนพริกสีม่วงจะเกิดจากเม็ดสีแอนโธไซยานิน และสีน้ำตาลจะเกิดจากการผสมระหว่างคลอโรฟิลล์ ไลโคปีน และเบต้าแคโรทีน ผลจะมีรูปทรงและขนาดแตกต่างกันออกไป บางพันธุ์อาจมีเปลือกหนา แต่บางพันธุ์จะบาง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-30 เซนติเมตร ผลแก่ที่เปลี่ยนเป็นสีแดง เหลือง ส้ม หรือม่วง จะมีปริมาณของวิตามินเอสูงกว่าเดิมถึง 10 เท่า และมีวิตามินซีสูงกว่า 2 เท่า[1]
สรรพคุณของพริกหวาน
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย และช่วยทำให้เจริญอาหาร
- สาร Capsaisin จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย
- เมื่อร่างกายได้รับสาร Capsaisin ร่างกายจะสร้างสาร Endorphins ที่ช่วยในการผ่อนคลายความเครียด
- พริกหวานสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นได้ด้วยดี[2]
- พริกหยวกมีสรรพคุณช่วยแก้อาเจียน ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ และช่วยขับลม
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยแก้หิด และกลากเกลื้อน
ระโยชน์ของพริกหวาน
- พริกหวานมีรสชาติหวานและไม่เผ็ด สามารถนำมารับประทานสดในสลัดหรือนำมาผัดกับผักชนิดอื่น ๆ หรือนำมาใช้กับเนื้อสัตว์ ยัดไส้เนื้อหมู ชุบแป้งทอด หรือนำไปอบหรือนึ่งก็ได้ ที่สำคัญทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ มีสีสันที่น่ารับประทาน อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีวิตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า[1],[2]
- พริกหวานมีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการการเกิดโรคมะเร็งได้[2]
- สาร Capsaisin สามารถช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระได้ จึงช่วยลดความของการเกิดโรคหลอดเลือด และโรคต้อกระจก[2]
-
คุณค่าทางโภชนาการของพริกหวานสีเขียว ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 4.64 กรัม
- น้ำตาล 2.4 กรัม
- ใยอาหาร 1.8 กรัม
- ไขมัน 0.17 กรัม
- โปรตีน 0.86 กรัม
- วิตามินเอ 18 ไมโครกรัม (2%)
- เบต้าแคโรทีน 208 ไมโครกรัม (2%)
- ลูทีน และ ซีแซนทีน 341 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.057 มิลลิกรัม (5%)
- วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม (2%)
- วิตามินบี3 0.48 มิลลิกรัม (3%)
- วิตามินบี5 0.099 มิลลิกรัม (2%)
- วิตามินบี6 0.224 มิลลิกรัม (17%)
- วิตามินบี9 10 ไมโครกรัม (3%)
- วิตามินซี 80.4 มิลลิกรัม (97%)
- วิตามินอี 0.37 มิลลิกรัม (2%)
- วิตามินเค 7.4 ไมโครกรัม (7%)
- แคลเซียม 10 มิลลิกรัม (1%)
- ธาตุเหล็ก 0.34 มิลลิกรัม (3%)
- แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม (3%)
- แมงกานีส 0.122 มิลลิกรัม (6%)
- ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม (3%)
- โพแทสเซียม 175 มิลลิกรัม (4%)
- โซเดียม 3 มิลลิกรัม (0%)
- สังกะสี 0.13 มิลลิกรัม (1%)
- ฟลูออไรด์ 2 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
References
- “พริกหวาน /พริกยักษ์”. รศ.นิพนธ์ ไชยมงคล.