พบปรากฏการณ์หลุมดำดูดกลืนดาวฤกษ์ ทำให้เกิดแสงสว่างได้เท่าซูเปอร์โนวา

พบปรากฏการณ์หลุมดำดูดกลืนดาวฤกษ์ ทำให้เกิดแสงสว่างได้เท่าซูเปอร์โนวา

นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์ ในกรุงเบลฟาสท์ ไอร์แลนด์เหนืออธิบายปรากฏการณ์แสงวาบขนาดใหญ่ในแกแลกซี่ไกลโพ้นว่าอาจเกิดจากการที่หลุมดำกลืนดาวฤกษ์เคราะห์ร้าย

   นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์ ในกรุงเบลฟาสท์ ไอร์แลนด์เหนือ เปิดเผยถึงการค้นพบปรากฏการณ์ที่น่าตื่นเต้นในอวกาศ เมื่อหลุมดำดวงหนึ่งกลืนดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่เคลื่อนที่เข้าใกล้ เป็นการยืนยันถึงทฤษฏีหลุมดำที่ระบุว่าเป็นเทหวัตถุที่มีแรงดึงดูดสูงที่สุดในจักรวาล ขนาดดึงดูดมวลของแสงเข้าไปได้

นักวิทย์พบหลุมดำกลืนดาวเคราะห์ร้าย

 

  หลังจากที่นักดาราศาสตร์ถกเถียงกันถึงปรากฏการณ์แสงวาบความสว่างสูงมากที่เกิดขึ้นในแกแลกซี่ที่ห่างไกล ซึ่งถูกพบเมื่อปี 2558 โดยนักดาราศาสตร์สหรัฐอเมริกาประเมินว่าเป็นแสงที่เกิดจากการระเบิดของดวงดาว 

  แต่เมื่อเร็วๆนี้นักดาราศาสตร์แห่งม.ควีนส์ที่ทำการศึกษาแสงวาบขนาดใหญ่นี้มาตลอด 10 เดือน ได้ข้อสรุปว่าแสงวาบนั้นเกิดขึ้นจากการที่ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งถูกพลังมหาศาลของหลุมดำ ฉีกออกเป็นชิ้นๆอย่างไม่ปราณี 

  นักดาราศาสตร์ให้ชื่อปรากฏการณ์แสงวาบในแกแลกซี่อันไกลโพ้นนี้ว่า “เอเอสเอเอสเอสเอ็น-15แอลเอช” (ASASSN-15lh) และจัดให้อยู่ในกลุ่มปรากฏการณ์ซุปเปอร์โนวา (การระเบิดของดวงดาวที่สิ้นอายุขัย) ที่มีความสว่างมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ แต่ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น สมาร์ทท์ แห่งม.ควีนส์ และหัวหน้าโครงการหอดูดาวยุโรปใต้ (European Southern Observatory) ในชิลี เถียงว่าจากการศึกษาอย่างถ้วนถี่ทำให้คิดได้ว่า ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ซุปเปอร์โนวาอย่างแน่นอน