ประสบการณ์จริง!!! พญานาคกลับชาติมาเกิด ถูกพาไปเที่ยวบาดาล สืบจากบันทึกประวัติเมืองคำชะโนด อุดรธานี

ประสบการณ์จริง!!! พญานาคกลับชาติมาเกิด ถูกพาไปเที่ยวบาดาล สืบจากบันทึกประวัติเมืองคำชะโนด อุดรธานี

จากบันทึกประวัติคำชะโนดของนายสวาท  บุรีเพีย  อดีตศึกษาธิการอำเภอบ้าน ดุง  เล่าไว้ว่า หลวงปู่คำตา  ศิริสุทโธ  ชื่อเดิม   นายคำตา  ทองสี เหลือง   ท่านเกี่ยวข้องกับพญานาค  โดยชาวบ้านเชื่อว่าท่านเป็นบุตรบุญธรรม ของเจ้าปู่ศรีสุทโธหรือพญาศรีสุทโธนาค  พญานาคผู้ครองเมืองคำชะโนด   ท่าน เป็นชาวบ้านวังทอง  ตำบลวังทอง  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี  มีหลาย เรื่องเล่าแปลกประหลาดเกี่ยวกับตัวท่าน

(ป่าคำชะโนด)

 วันหนึ่งท่านกับเพื่อน ๆ ไปซักผ้าที่กลางดงคำชะโนด  ขณะที่ตักน้ำอยู่นั้นก็มองเห็นปลาไหลตัวใหญ่ มี ตาแดงกร่ำโผล่ขึ้นมาให้เห็น  ท่านจึงเรียกให้เพื่อน ๆ มาดู  แต่ปลาไหลตัวนั้นมุดลงในบ่อน้ำไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดคลื่นน้ำ สะเทือนอย่างน่ากลัว

เมื่อถึงฤดูฝนชาวบ้านพากันออกไปยกยอปลาในลำห้วย ใกล้ ๆ บ้าน  ขณะที่ยกยออยู่นั้นก็เกิดสิ่งประหลาดกับนายคำตา  รู้สึกคล้ายมีปลาตัว ใหญ่เข้ามาอยู่ในยอ จึงรีบยกยอขึ้น  แต่เมื่อยกยอเหนือพ้นน้ำสิ่งที่อยู่ในยอนั้น  แทนที่จะเป็น ปลาตัวใหญ่กลับกลายเป็นเต้าปูนที่เขาใช้บดปูนกินกับหมาก  เมื่อจะยื่นมือลง จะจับดู  เต้าปูนนั้นก็ดิ้นเหมือนปลาและกระโดดลงน้ำหายไป

เมื่ออายุครบ 20 ปี  นายคำตาก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดบ้านวังทอง  เรื่องผิดปกติก็ได้เงียบหายไป บวชอยู่ 3 พรรษาก็สึกออกมา

ถึงฤดูเก็บเกี่ยว ทิดคำตาหรืออาจารย์คำตา  ออกไปเกี่ยวข้าวในนาที่บ่อผักไหม  ซึ่งห่างจากคำชะ โนดประมาณ 200  เมตร  เมื่อหยุดพักจากการเก็บเกี่ยวข้าวก็เดินไปที่กระท่อมที่ปลูกไว้ สำหรับพักและเฝ้านา พอเดินไปใกล้กระท่อมก็มองเห็นผู้หญิงคนหนึ่งนั่งกอดเข่า อยู่บนกระท่อมโดยหันหลังให้  เมื่อเธอผู้นั้นหันหน้ามาก็เห็นว่าเป็นคนแปลก หน้าไม่เคยเห็นมาก่อนอายุราว 25 ปี  จึงเอ่ยถามผู้หญิงคนนั้นว่า

“นางมาจากไหน  จะมาหาใคร”

หญิงสาวยิ้มแล้วตอบว่า “มาหาอาจารย์คำตา  เพราะว่าเห็นพวกผู้หญิงเขาลือกันว่าเป็นผู้ชายงามรูปหล่อ”

“บ้านนางอยู่ที่ไหนล่ะ”

“อยู่ทุกหนทุกแห่งทั่ว ๆ ไป”

พอได้ฟังดังนั้นความกลัวก็เกิดขึ้นจึงตอบกลับไปว่า

“ข้ารู้จักอาจารย์คำตาและสนิทสนมกันดี  บ้านอยู่ใกล้กันด้วย  จะไปบอกเขาให้นะ


 

กล่าวจบแล้วอาจารย์คำตาก็รีบเดินหนีไป  กลับเข้าไปในนาแล้วเล่าให้พี่เขยและญาติ ฟัง  จึงพารีบมาดูที่กระท่อม  แต่ปรากฏว่าผู้หญิงคนนั้นได้หายไปแล้ว  ญาติ พี่น้องจึงเป็นห่วงอาจารย์คำตาเนื่องจากมีเหตุการณ์แปลก ๆ  กลัวจะเกิดอันตรายจากสิ่งที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุจึงหาวิธีป้องกัน

ขั้นแรกญาติพี่น้องให้เปลี่ยนชื่อ  โดยเปลี่ยนจาก  “คำตา” เป็น  “สุภาพ” ให้ทุกคนเรียกชื่อใหม่อย่าเรียกชื่อเก่า

ขั้นที่ 2  จัดพิธีแต่งงานหลอกๆ กับญาติผู้หญิงชื่อนางสาวทองคำ  สองพาลี

ขั้น ที่ 3  แต่งงานแล้วก็ย้ายหนีออกจากบ้านวังทองไปอยู่วัดบ้านหนองกา โดยไปขออาศัยอยู่กับท่านครูคำหรือพระครูสุภารโสภณ  เป็นเวลา 7 วัน  แล้วจึงย้ายกลับไปอยู่บ้านวังทองตามเดิม

ต่อมาอีก 2  เดือนญาติพี่น้องก็ได้ไปสู่ขอสาวบ้านเดียวกันจัดพิธีแต่งงานจริง ๆ อีกครั้งหนึ่ง  ชีวิตการครองเรือนดำเนินไปอย่างมีความสุข  จนกระทั่งภรรยา ตั้งท้องและคลอดลูกชายคนแรก

ประมาณเดือน 12 น้ำเริ่มลดลงฝั่ง  ในคืนหนึ่งอาจารย์คำตานอนหลับแล้วฝันไปว่า  เจ้าปู่ศรีสุ ทโธได้มาหาที่บ้านเพื่อขอร้องให้ตนไปประกวดชายงามที่เมืองบาดาล  แต่ตนไม่ ได้ตอบตกลง

คืนต่อมาก็ฝันอย่างเดียวกันอีก  เจ้าปู่ศรีสุทโธได้ถามถึง เหตุผลที่ไม่ยอมไปประกวดชายงาม  มีเหตุขัดข้องประการใดขอให้บอก  อาจารย์คำ ตาจึงตอบตรง ๆ ไปว่า  มีปัญหาอยู่อย่างเดียวคือ  “กลัว” กลัวจะพลัดพรากตายจากครอบครัว

เมื่อ ทราบปัญหาอย่างนั้น  เจ้าปู่ศรีสุทโธก็ตอบตกลงปกป้องคุ้มครองและรับประกัน ว่าจะให้กลับมาอยู่กับลูกเมียแน่นอน  เมื่อเจ้าปู่ศรีสุทโธขอร้องหนัก ๆ และรับประกันอย่างแข็งขัน  อาจารย์คำตาจึงตอบตกลงไปประกวดชายงามตามคำ ขอ  โดยขอร้องเจ้าปู่ศรีสุทโธว่า  เมื่อประกวดเสร็จแล้วจะต้องรีบนำตัวกลับ มาส่งบ้านโดยเร็ว  เจ้าปู่ศรีสุทโธก็รับที่จะปฏิบัติตามคำขอทุกอย่างและนัด วันเวลาที่จะมารับเรียบร้อย

(บาดาล)

เมื่อเล่าความฝันให้ภรรยาและญาติฟัง  ทุก คนทั้งชาวบ้านที่ได้รู้เรื่องต่างก็เกิดความวิตกกังวลกลัวว่าอาจารย์คำตาจะ ตายจากไปอยู่กับเจ้าปู่ศรีสุทโธในเมืองบาดาล  จึงช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด

พอ ถึงวันกำหนดนัดหมายเจ้าปู่ศรีสุทโธจะมารับตัวไปประกวดชายงาม  ผู้ใหญ่บ้าน ได้ประกาศห้ามบรรดาลูกบ้านทุกคนออกนอกเขตหมู่บ้าน  จนถึงเวลานัด หมาย  เหมือนมีสิ่งดลใจให้ชาวบ้าน  เกิดความสบายใจพากันกลับบ้านของตนเหลือ อยู่บ้านอาจารย์คำตาเพียงไม่กี่คน

ทันใดนั้นเอง  อาจารย์คำตาซึ่งนอน พักอยู่บนเรือนได้ลุกขึ้นวิ่งพรวดพราดลงบันได  ตรงไปทุ่งนาใกล้ลำห้วยทางทิศ ตะวันตกของหมู่บ้าน  ญาติพี่น้องและชาวบ้านที่เหลืออยู่เห็นเช่นนั้นก็รีบ วิ่งตามไปอย่างกระชั้นชิด  แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น  ร่าง กายของอาจารย์คำตาหายวับไปกับตา  ทั้ง ๆ ที่เป็นทุ่งนาโล่งแจ้งไม่มีต้นไม้พอที่จะบังร่างของคนหนึ่งคนได้เลย   ทุกคน ตกใจค้นหาหลายชั่วโมงแต่ก็ยังไมพบ  จึงปรึกษากันไปตามหมอดูและหมอธรรม (ร่าง ทรงภาคอีสาน) เมื่อดูแล้วก็บอกให้ทราบว่า   เจ้าปู่ศรีสุทโธมารับไปประกวด ชายงามแล้วและปลอดภัยดีไม่เป็นอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น

จนกระทั่งเวลา ประมาณ 17.30 น. ของวันรุ่งขึ้นก็พบร่างอาจารย์คำตานอนสลบไสลไม่ได้สติอยู่บนคันนาตรงจุดที่ หายไป  จากนั้นจึงทำการรักษาในหมู่บ้านอยู่นานจึงคืนสติคืนมา

พอฟื้น ท่านก็เล่าให้ฟังว่า  เมื่อถึงเวลานัดหมายเจ้าปู่ศรีสุทโธได้นำพาหนะชนิด หนึ่งมารับที่บ้าน  มีลักษณะคล้ายอู่สวยงามแต่บินได้  เจ้าปู่พาบินไปทางทิศ เดียวกับเมืองคำชะโนด

เมืองนั้นสวยงามมาก  มีปราสาทมีบ้านเรือนมาก มาย  อู่ยนต์ได้บินไปปราสาทที่สวยงามที่สุด  ซึ่งเป็นปราสาทของเจ้าปู่ศรีสุทโธนั่นเอง  เมื่อถึงปราสาทก็ลงจากอู่ยนต์  เข้าไปในห้องหนึ่งเพื่อเปลี่ยน เสื้อผ้าที่สวยงามซึ่งเจ้าปู่เตรียมไว้ให้แล้ว  เมื่อแต่งตัวเสร็จเรียบร้อย  เจ้าปู่ก็สอนวิธีการเดินและการวางตัวบนเวทีประกวดให้อย่างละเอียด  พอได้เวลาเจ้าปู่ก็พาเดินไปยังเวทีประกวดซึ่งมีขนาดกว้างใหญ่มากและมีคนเฝ้าชม งานประกวดมากมาย

(ทางเข้าป่าคำชะโนด)

การประกวดปรากฏว่าอาจารย์คำตาได้ตำแหน่งชนะ เลิศ  เมื่อประกวดเสร็จกรรมการก็มอบรางวัลให้แต่ท่านไม่รับ  กรรมการได้ขอร้องให้ท่านไปประกวดต่อที่ปากกระดึงและปากงึมซึ่งจัดงานเหมือนกัน  แต่เจ้า ปู่ศรีสุทโธไม่อนุญาต  เพราะต้องรีบนำอาจารย์คำตาส่งกลับบ้านตามที่สัญญาเอา ไว้  แล้วเจ้าปู่ก็พาขึ้นอู่ยนต์ลำเดิมเดินทางกลับบ้าน

ต้นเดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ.2530  ในคืนวันพระ  ขณะที่ท่านรักษาศีลอยู่ในวัดท่านก็ฝัน ไปว่า  เจ้าปู่ศรีสุทโธมาขอร้องให้ท่านบวชแต่การพูดจายังไม่เป็นที่ตกลงกัน  เพราะใจท่านยังไม่อยากบวช  ยังเป็นห่วงลูกหลานอยู่

ในวันพระที่ 2  ท่านก็ฝันว่าเจ้าปู่ศรีสุทโธได้มาขอร้องให้ท่านบวชอีก  แต่ท่านก็ยังไม่ตกลงจนถึงวันพระที่ 3   เจ้าปู่ได้มาเข้าฝันอีก  แต่คราวนี้อาจารย์คำตารู้สึกโล่งใจ  คล้ายมีอะไรมาดลใจ  จึงตกปากรับคำจะบวช

 เมื่อตกลงแล้วท่านก็แนะนำเรื่องที่จะบวช   ให้เข้านาคโกนหัวให้นุ่งขาวห่มขาวในวัน 12 ค่ำ  เอาฝ้ายที่จะผูกข้อมือนาคในวันบายศรีสู่ขวัญนาคไปแขวนไว้ในศาลเจ้าปู่ ศรีสุทโธในคำชะโนด  และให้บวชในวันพระขึ้น  15 ค่ำ ซึ่งเจ้าปู่ศรีสุทโธก็จะร่วมพิธีและอนุโมทนาในการบวชครั้งนี้ด้วย  การบวช ครั้งนี้อาจารย์คำตามีอายุมากแล้วชาวบ้านจึงเรียกหลวงปู่คำตา  และมีนามสมญา พระว่า “ศิริสุทโธ”

หลวงปู่คำตาบวชและจำวัดอยู่ที่วัดบ้านวังทองได้ ระยะหนึ่งก็ย้ายมาตั้งสำนักสงฆ์ใกล้ ๆ คำชะโนด  และได้พัฒนาบุกเบิกก่อตั้งพัฒนาจนมีความเจริญตั้งเป็นวัด ชื่อ  “วัดศิริสุทโธคำชะโนด”

คืนหนึ่งในระหว่างกลางพรรษาได้ฝันว่า หลวงปู่พาเข้าไปในคำชะโนดไปดูทรัพย์สินทั้งหมดในเมืองคำชะโนด  เสร็จแล้วก็ นำหลวงปู่คำตาขึ้นไปบนศาลาหลังใหญ่ซึ่งมีคนนั่งรอจำนวนมากประกาศให้ทุกคนทราบ

“นี่ คือลูกชายของเจ้าปู่  ต่อไปนี้ทรัพย์สินและการปกครองเมืองคำชะโนดนี้จะยกให้ ลูกชาย  ขอให้ทุกคนเชื่อฟังคำสั่งและอยู่ในความปกครองของลูกชายตั้งแต่บัด นี้เป็นต้นไป”

หลวงปู่คำตาได้อาพาธและได้มรณภาพ  วันที่ 15  สิงหาคม พ.ศ. 2533

(หนังสือประวัติหลวงปู่คำตา)