นี่คือคำทำนายประเทศไทย "๑๒ รัชกาล" ของ โหรหลวงในสมัย รัชกาลที่ ๑
ในรัชกาลสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจะฬาโลก มีผู้เฒ่าเล่ากันต่อ ๆ มาว่าในรัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก วันหนึ่งเวลาเย็นขณะที่พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประทับอยู่ ณ ตำหนัก ในขณะนั้นก็พอดีพระโหราผ่านมาจะเข้าเฝ้า พระองค์ก็เลยรับสั่งให้หา พระพุทธยอดฟ้าจึงเผยพระโอษฐ์ขึ้นก่อนว่า
“ท่านมาก็ดีแล้ว ท่านโหรา ฉันจะให้ท่านพยากรณ์โชคชะตาของกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ต่อไปเบื้องหน้าจะเป็นอย่างไร”
พระโหราจึงกราบทูลว่า
“พระ อาญาไม่พ้นเกล้า การถวายคำพยากรณ์โชคชะตาของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องสำคัญจำจะต้องตรวจการพยากรณ์ โดยความระมัดระวังจะต้องใช้เวลาถึง ๓ วัน จึงจะกราบทูลถวายคำพยากรณ์ได้”
ครั้งแล้วท่าน โหราธิบาดีได้จด ปี เดือน วัน เวลา ของวันที่ลงหลักเมือง กรุงรัตนโกสินทร์ ตามที่พระพุทธยอดฟ้ารับสั่ง แล้วจึงกราบทูลลากลับไป พอครบ ๓ วัน พระโหราธิบดีจึงมาเฝ้าพระพุทธยอดฟ้าตามนัด และได้ถวายคำพยากรณ์เป็น ๑๒ ยุค ดังนี้
ยุคที่ ๑ ได้แก่ รัชกาลที่ ๑ ชื่อว่า มหากาฬ
มีอรรถาธิบายว่า รัชกาลของพระองค์นี้มืดมาก คือพระองค์ไม่รู้ที่จะดำเนินรัฐประศาสนโยบายของประเทศไปในทางไหนดี เพราะเป็นระยะเริ่มก่อร่างสร้างกรุง
ยุคที่ ๒ ได้แก่รัชกาลที่ ๒ ชื่อว่า พาลยัคฆ์
มี อรรถาธิบายว่า ผู้ที่รับมอบสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ไปจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ที่ประกอบ ไปด้วยความอ่อนแอ ไม่มีความสามารถในการปกครอง
ยุคที่ ๓ ได้แก่รัชกาลที่ ๓ ชื่อว่า รักมิตร
มี อรรถาธิบายว่า ผู้ที่สืบราชสมบัติต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ นี้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงโปรดที่จะทำสัญญาผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ มาก
ยุคที่ ๔ ได้แก่รัชกาลที่ ๔ ชื่อว่า สถิตย์ธรรม มีอรรถาธิบายว่า ผู้ที่สืบราชสมบัติ
ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๔ นี้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพอพระทัยฝักใฝ่ในทางธรรม และพระพุทธศาสนามาก
ยุคที่ ๕ ได้แก่ รัชกาลที่ ๕ ชื่อว่า จำแขนขาด
มีอรรถาธิบายว่า จะมีการเสียดินแดนให้แก่ต่างประเทศ ในรัชกาลที่ ๕ ด้วยความจำใจ
ยุคที่ ๖ ได้แก่ รัชกาลที่ ๖ ชื่อว่า ราชโจรัญ
มี อรรถาธิบายว่า ผู้ที่สืบราชสมบัติต่อมาถึงรัชกาลที่ ๖ นี้เป็นพระราชาที่เปรียบเสมือนโจร คือพระเจ้าแผ่นดินที่จับจ่ายใช้สอยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาก
ยุคที่ ๗ ได้แก่รัชกาลที่ ๗ ชื่อว่า ทัณฑ์ทุกข์
มีอรรถาธิบายว่า ผู้ที่สืบราชสมบัติถึงรัชกาลที่ ๗ นี้จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มารับเคราะห์หนักตลอดรัชสมัย
ยุคที่ ๘ ได้แก่ รัชกาลที่ ๘ ชื่อว่า ยุคทมิฬ
มี อรรถาธิบายว่า จะเกิดมีสงครามในยุคนี้ ประชาชน ประชาชาติจะต้องเสียสละทรัพย์สมบัติและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาไว้ของส่วนใหญ่อันเป็นที่รัก (แต่พระโหรา มิได้ทำนายไว้ถึงว่า รัชกาลที่ ๘ จะประสบเหตุการณ์ถึงสิ้นพระชนม์ด้วยลักษณการเช่นนี้)
ยุคที่ ๙ ได้แก่รัชสมัยปรัตยุบันนี้ ชื่อว่า ถิ่นสกาว
มีอรรถาธิบายว่า ผู้ที่สืบสันตติวงค์ครองราชสมบัติต่อมา ถึงรัชกาลนี้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีบุญญาธิการ ประเทศจะเจริญรุ่งเรือง
ยุคที่ ๑๐ ชื่อว่า ชาวศรีวิไล
มี อรรถาธิบายว่า ประชาชนพลเมืองจะถึงซึ่งอารยธรรมอันแท้จริงในยุคนี้ (พวกมิจฉาทิษฐิและอธรรมจะเสื่อมสิ้นไป พวกนี้ถ้าไม่ตายด้วยคมหอกคมดาบ ก็จะต้องตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เพราะเป็นยุคของอารยชนที่มีจิตใจเป็นธรรม
เท่านั้น ที่จะอาศัยอยู่ในอารยประเทศ ถิ่นสกาวได้ ถ้าผู้ใดไม่มีศีลธรรมผู้นั้นก็เท่ากับฝืนโชค ชะตากรรมของประเทศชาติจะต้องได้รับโทษถึงตาย โดยทางใด ทางหนึ่ง ดังกล่าวมาแล้ว
ยุคที่ ๑๑ ชื่อว่า ไทยมหารัฐ
มีอรรถาธิบายว่า ประเทศจะเป็นมหาอำนาจในยุคนี้
ยุคที่ ๑๒ ชื่อว่า จักรพรรดิราช
มีอรรถาธิบายว่า พระเจ้าแผ่นดินจะเป็นถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ในยุคนี้
ที่มา : หนังสือ “คนตายแล้ว…ไปเกิดได้อย่างไร” ของพระธรรมสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี